อวัยวะทุกส่วนในร่างกายของคนเราทำงานสัมพันธ์กันเป็นระบบ ทุกระบบมีความสำคัญต่อร่างกาย เราควรรู้จักป้องกัน บำรุงรักษาอวัยวะต่างๆ ในทุกระบบ ให้ทำงานได้ตามปกติ
หลักการของกระบวนการเสริมสร้างและดำรงประสิทธิภาพการทำงานระบบต่างๆ มีแนวทางดังนี้
1. รักษาอนามัยส่วนบุคคล เช่น อาบน้ำให้สะอาด
3. พักผ่อนให้เพียงพอ
4. ทำจิตใจให้ร่าเริง
5. หลีกเลี่ยงสิ่งเสพติด
6. มั่นตรวจสุภาพบ่อยๆ
ระบบประสาท
มี 2 ส่วนใหญ่ๆ
1. ระบบประสาทส่วนกลาง ประกอบด้วย
สมอง เป็นแหล่งรวมเซลล์ประสาท เป็นส่วนกลางในการควบคุมระบบประสาททั้งหมด
ไขสันหลัง ทำหน้าที่รับกระแสประสาทจากส่วนต่างๆ ของร่างกายส่งไปยังสมอง
2. ระบบประสาทสวนปลาย ประกอบด้วย
เส้นประสาทสมอง มี 12 คู่
เส้นประสาทไขสันหลัง มี 31 คู่
การทำงานของระบบประสาท
เป็นระบบที่ทำงานประสานกับระบบกล้ามเนื้อ รับกระแสประสาทจากอวัยวะต่าง ๆและส่งคำสังกลับไปคุมการเต้นของหัวใจความดันเลือด ฯลฯ
ระบบสืบพันธุ์
เป็นระบบเกี่ยวกับการเพิ่มจำนวนของสิ่งมีชีวิต เพื่อดำรงเผ่าพันธุ์ไว้ การสืบสันธุ์ แบ่งอาศัยเพศ ต้องอาศัยอวัยวะเพศของเพศชายและเพศหญิง
ระบบสืบพันธุ์เพศชาย ประกอบด้วย
1. อัณฑะ ทำหน้าที่สร้างตัวอสุจิ
1. อัณฑะ ทำหน้าที่สร้างตัวอสุจิ
2. ถุงหุ้มอัณฑะ ทำหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิให้พอเหมาะ
ในการสร้างตัวอสุจิ
3. หลอดเก็บตัวอสุจิ อยู่ด้านบนของอัณฑะ ทำหน้าที่เก็บตัวอสุจิ เพื่อให้เซลล์เจริญเติบโตเต็มที่
4. หลอดนำอสุจิ อยู่ต่อจากหลอดเก็บตัวอสุจิ ทำหน้าที่ลำเลียงตัวอสุจิไปเก็บไว้ที่ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ
5. ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ ทำหน้าที่สร้างอาหารเพื่อใช้เลี้ยงตัวอสุจิ เช่น น้ำตาลฟรักโตส วิตามิน โปรตีน เป็นต้น
6. ต่อมลูกหมาก อยู่ตอนต้นของท่อปัสสาวะ ทำหน้าที่หลั่งสารที่เบสอ่อน ๆ เข้าไปในท่อปัสสาวะทำให้เกิดสภาพที่เหมาะสมกับตัวอสุจิ
6. ต่อมลูกหมาก อยู่ตอนต้นของท่อปัสสาวะ ทำหน้าที่หลั่งสารที่เบสอ่อน ๆ เข้าไปในท่อปัสสาวะทำให้เกิดสภาพที่เหมาะสมกับตัวอสุจิ
7. ต่อมคาวเปอร์ อยู่ใต้ต่อมลูกหมาก ทำหน้าที่หลั่งสารไปหล่อลื่นท่อปัสสาวะเมื่อมีการกระตุ้นทางเพศ ทำให้ตัวอสุจิเคลื่อนตัวได้รวดเร็ว
ระบบสืบพันธุ์เพศหญิง ประกอบด้วย
1. รังไข่ ทำหน้าที่ ผลิตไข่ซึ่งเป็นเซลล์สีบพันธุ์ และ สร้างฮอร์โมนเพศหญิง
2. ท่อนำไข่ เป็นทางผ่านของไข่ ออกจากรังไข่ไปยังมดลูก
3. มดลูก เป็นที่ฝังตัวของไข่ที่ปฏิสนธิแล้ว และ เป็นที่เจริญเติบโตของท่รกในครรภ์
4. ช่องคลอด ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของตัวอสุจิเข้ามดลูก เป็นทางออกของมดลูกและยังเป็นช่องให้ประจำเดือนออกมาสู่ภายนอก
ระบบต่อมไร่ท่อ
เป็นระบบที่ผลิตสารที่เรียกว่า ฮอร์โมน ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบต่างๆ
ต่อมใต้สมอง การเจริญเติบโตของร่างกายโดยเฉพาะกระดูกและกล้ามเนื้อ กระตุ้นการสร้างเซลสืบพันธ์ กระตุ้นการตกไข่และสร้างฮอร์โมนเพศหญิงและชาย
ต่อมธัยรอยด์ ผลิตฮอร์โมนที่สำคัญคือธัยร็อกซิน โดยอาศัยไอโอดีนเป็นวัตถุดิบ ธัยร็อกซินมีหน้าที่สำคัญหลายอย่าง คือช่วยในการเจริญเติบโตของกระดูก สมองและระบบประสาท ในเด็กที่กำลังเจริญเติบโตถ้าขาดจะทำให้สมองเสื่อม ในผู้ใหญ่ถ้าขาดจะทำให้การรับรู้และสั่งงานของระบบประสาทช้าลง
ต่อมเพศ สร้างเซลสืบพันธ์และสร้างฮอร์โมนฮอร์โมนเพศ